- บริษัทฯต้องรอดูสถานการณ์การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปก่อน เพราะปัจจุบันยังมีความเสี่ยงอยู่มาก
- ปกติบริษัทจะมียอดขายโตขึ้นปีละ 20-30%
- จำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากทรัพย์สิน อยู่ระหว่างต่อรอง คาดว่าน่าจสรุปได้กลางปีนี้ สำหรับเงินทดแทนจากการสูญเสียรายได้ทางธุรกิจจากการหยุดชะงักของกิจการ (Business Interruption) อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อส่งให้ตัวแทนบริษัทประกันภัย
- ต้องรอให้การผลิตสินค้าให้ลูกค้าใหม่ได้ปริมาณมากเต็มที่ ประมาณกลางปี 2556 ซึ่งปี 2557 น่าจะกลับไปได้อัตรากำไรสุทธิที่จุดเดิมได้
- บริษัทฯเสนอราคาเป็นเงินเหรียญสหรัฐ เนื่องจากภาวะการณ์เรื่องค่าเงินยังปั่นป่วน ถ้าขายสินค้าเป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐ บริษัทฯสามารถทำเป็น Natural Hedge กับรายการซื้อวัตถุดิบที่เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐได้
- ปัจจุบันบริษัทแก้ปัญหาคนงานขาดแคลน โดยการทำงานล่วงเวลา ในระยะยาวต้องใช้อุปกรณ์อัตโนมัติมาช่วยทำงานมากขึ้น
- บริษัทฯจะพยายามลดต้นทุนการซื้อวัตถุดิบกับบริษัทคู่ค้า เพิ่มสินค้าใหม่ หาลูกค้าใหม่ ด้วยการเข้าไปในตลาดใหม่ทั้งส่วนในแถบยุโรป และสหรัฐอเมริกา พิจารณาอยากรอบคอบถึงภาวะเศรษฐกิจในยุโรปก่อนการตัดสินใจลงทุนเกี่ยวกับ M&A.
- ลักษณะผลิตภัณฑ์ที่บริษัทผลิต ในกลุ่มอุตสาหกรรม จะใช้กันมากในประเทศกำลังพัฒนาหรือพัฒนาแล้ว จึงเป็นสินค้าที่มีวงจรอายุนาน ส่วนสินค้าทางด้านอุปกรณ์การแพทย์ จะดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีคนรักสุขภาพ และ มีผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนสินค้าเฉพาะกลุ่ม หรือ Niche เป็นสินค้าที่เติบโตได้ และ คู่แข่งเข้ามาในหมวดนี้ยาก บริษัทฯไม่ผลิตสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค เพราะวงจรอายุสั้น เปลี่ยนแปลงขึ้นลงรวดเร็วตามความต้องการของตลาดและเทคโนโลยี
- เป็นผลิตภัณฑ์ประเภท อุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์เฉพาะกลุ่ม บริษัทได้ลูกค้ามาเป็นการผลิตเครื่องพิมพ์สลิปต่างๆ เช่น การพิมพ์สลิปจากตู้ เอทีเอ็ม พิมพ์สลิปจากเครื่องเล่นการ์ซิโน หรือพิมพ์จากเครื่องอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
- เนื่องจากระยะเวลาการหมุนเวียนของวัตถุดิบจากวันที่รับวัตถุดิบเข้าคลังสินค้า เบิกวัตถุดิบจากคลังสินค้าเข้าสายงานการผลิต จนผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป จัดส่งสินค้าให้ลูกค้า และรับเงินจากลูกค้า ยังใช้เวลาหลายวัน ทำให้วัตถุดิบที่เข้ามาสมมุติว่ารับเข้ามาขณะที่อัตราแลกเปลี่ยน 30 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐ ขณะที่ขายให้ลูกค้า อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 29 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐ กรณีที่สมมุตินี้ บาทแข็งขึ้นในอัตราร้อยละ 3.3 ต้นทุนวัตถุดิบจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่บริษัทฯจะกำไรอัตราแลกเปลี่ยนตอนจ่ายเงินค่าวัตถุดิบให้คู่ค้า บริษัทฯซื้อวัตถุดิบร้อยละ 76 เป็นเงินเหรียญสหรัฐ และมีรายได้จากการขายสินค้าเป็นเงินเหรียญสหรัฐร้อยละ 85 จึงสามารถลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้บางส่วน ด้วยเป็นระบบตามธรรมชาติ (Natural Hedge) และบริษัทบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วยการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Exchange Contract) รวมทั้งการบริหารสินค้าคงคลังต้องให้มีอัตราการหมุนเวียนเร็วขึ้น
- กำไรในไตรมาสที่หนึ่งปีนี้ ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทบ้าง และค่าเสื่อมราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทนเครื่องจักรเดิมที่เสียหายจากอุทกภัย
- บริษัทต้องพิจารณาปัจจัยหลายอย่างในการจะขึ้นราคาขายกับลูกค้า ว่าลูกค้าจะรับราคาใหม่ได้กรือไม่
- ส่วนของกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงดูได้ในหน้า 54 ของรายงานประจำปี 2555ในส่วนของงบกระแสเงินสด ซึ่งมีจำนวน 14,356,736 บาท เนื่องจาก ณ วันสิ้นงวดบัญชี ต้องคำนวณทรัพย์สิน และ หนี้สินของบริษัทส่วนที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้เป็นเงินสกุลบาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นงวดบัญชี จึงมีส่วนกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อเปรียบเทียบกับวันที่ได้ทรัพย์สินหรือหนี้สินนั้นๆมา
12.1) บัญชีลูกหนี้การค้า ซึ่งแสดงในหน้า 66 มีรายการหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 140 ล้านบาท เป็นการตั้งสำรองเนื่องจากอะไร
- เป็นการตั้งสำรองลูกค้ารายใหญ่ 1 ราย ที่ย้ายออกช่วงเกิดอุทกภัย และไม่ชำระเงินค้าสินค้าตามกำหนด ซึ่งสามารถตกลงกันได้แล้วในไตรมาสหนึ่งปี 2556
12.2) ทำไมต้องตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุนในบริษัทย่อยจำนวน 22.8 ล้านบาท
- เป็นการตั้งการด้อยค่าของเงินลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนในโรงงานที่เทียนจิน เนื่องจากโรงงานนี้ยังไม่มีกำไร
12.3) ผลขาดทุนสะสมปี 2554 จำนวน 1,274.9 ล้านบาท จะนำไปใช้หักผลกำไรในปีต่อไปได้หรือไม่
- ไม่สามารถนำมาใช้หักผลกำไรในปีถัดมาได้ เนื่องจากรายการนี้เป็นรายการตั้งสำรองค่าความเสียหายจากอุทกภัย เป็นรายการที่บวกกลับเมื่อยื่นรายงาน ภ.ง.ด 50 ซึ่งเป็นรายงานเกี่ยวกับการยื่นภาษีกับกรมสรรพากร
12.4) รายงานผู้สอบบัญชีหน้า 46 ในหมวดเรื่องอื่น ที่กล่าวถึงบริษัทย่อยที่ตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีท่านอื่น หมายความว่าอย่างไร
- คุณโสภณ เพิ่มศิริวัลลภ ผู้ตรวจสอบบัญชี จาก บริษัท สำนักงานเอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด ได้ชี้แจงว่า ได้เขียนข้อความนี้เป็นข้อสังเกตุ แต่เป็นการรับรองงบการเงินของบริษัทฯแบบไม่มีเงื่อนไข เพราะทางบริษัท สำนักงานเอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด ได้ส่งตัวแทนไปตรวจสอบการสอบบัญชีของโรงงานที่เทียนจิน เมื่อปลายปี 2555 ด้วย
12.5) เมื่อเปรียบเทียบงบการเงินปี 2554 และ ปี 2555 ที่แสดงในหน้า 50 โดยปรับรายการเกี่ยวกับความเสียหายจากอุทกภัยของปี 2554 ออก และปรับรายการเงินค่าเสียหายจากอุทกภัยรับในปี 2555 ออก พบว่าผลกำไรสุทธิปี 2555 น้อยกว่าปี 2554 อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไร
- กำไรปี 2555 น้อยกว่าปี 2554 เป็นผลเนื่องจากอุทกภัยปลายปี 2554 ทำให้บริษัทใช้เวลาในการฟื้นฟูโรงงาน และ การสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่ ค่อยๆทะยอยเข้ามา การผลิตจึงค่อยๆเริ่ม ทำให้ยอดขายช่วงต้นปี 2555 ต่ำมาก และ ค่อยๆทะยอยเพิ่มขึ้น แต่ยังมียอดขายไม่สูงเท่าปี 2554 อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการฟื้นฟูบริษัทและค่าเสื่อมราคาที่เพิ่มขึ้นจากการซื้อเครื่องจักรใหม่แทนเครื่องจักรเดิมที่เสียหาย
12.6) เงินที่ให้บริษัทย่อยกู้ โดยคิดดอกเบี้ยที่อัตราร้อยละ 2.0 ตามที่กล่าวในรายงานหน้า 63 สงสัยว่าทำไมให้กู้ดอกเบี้ยอัตราต่ำมาก ควรจะให้บริษัทย่อยกู้โดยคิดดอกเบี้ยให้สูงกว่าต้นทุนดอกเบี้ยที่บริษัทแม่กู้มา เพื่อให้บริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายสูง จะได้ประหยัดภาษีเงินได้
- บริษัทฯให้เงินบริษัทย่อยกู้ เพื่อนำไปลงทุนในบริษัทย่อยที่เทียนจิน ไม่ได้คิดดอกเบี้ยสูง เพราะบริษัท Globe Vision ไม่มีรายได้ และ ไม่มีภาระทางภาษีแต่อย่างใด
12.7) จากรายงานงบการเงิน หน้า 82 ข้อ 30.4 ข. ที่มีหมายเหตุจากผู้สอบบัญชีว่า บริษัทฯมีคดีความ ให้ชำระค่าเสียหาย 2 ล้านบาท อยากทราบว่าเป็นคดีที่มาจากเหตูการณ์เดียวกับที่มีหมายเหตุในข้อ 30.4 ก. หรือไม่ ทำไมไม่มีความเห็นจากที่ปรึกษากำหมายเหมือนข้อ 30.4 ก.
- หมายเหตุในงบการเงิน ข้อ 30.4 ข. เป็นคนละคดีกับหมายเหตุข้อ 30.4 ก. ซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับลูกค้า 1 รายที่ไม่ชำระค่าสินค้าให้บริษัทฯโดยกล่าวอ้างว่ายึดไว้เป็นค่าเสียหายที่ทางบริษัทฯส่งมอบสินค้าให้ไม่ได้ตามกำหนดด้วยเหตุอุทกภัยซึ่งลูกค้าอ้างว่าไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัยที่สามารถยกเว้นได้ตามที่ระบุในสัญญากับบริษัทฯ ปัญหาเรื่องนี้อยู่ที่การตีความคำว่า “เหตุสุดวิสัย” จึงจำเป็นต้องมีคำยืนยันจากที่ปรึกษากฎหมายว่าเหตุอุทกภัยที่บริษัทฯได้รับจนไม่สามารถผลิตสินค้าให้ลูกค้าได้เป็นเหตุสุดวิสัย แต่สำหรับกรณีข้อ 30.4 ข. เป็นกรณีเกี่ยวกับคู่ค้าที่ขายวัตถุดิบให้บริษัทฯ โดยบริษัทฯเป็นเจ้าของอุปกรณ์แท่นพิมพ์ เมื่อบริษัทฯต้องการย้ายอุปกรณ์แท่นพิมพ์ไปให้ผู้ขายวัตถุดิบรายใหม่ คู่ค้ารายดังกล่าวนี้ไม่ยอมคืนอุปกรณ์แท่นพิมพ์ให้บริษัทฯ บริษัทฯจึงไม่จ่ายชำระค่าสินค้าที่ซื้อมาจากคู่ค้ารายนี้จนกว่าจะได้รับคืนอุปกรณ์แท่นพิมพ์ของบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯได้ตั้งยอดที่ต้องชำระค่าสินค้าของบริษัทนี้ไว้แล้วทั้งหมด ในงบการเงินของบริษัทฯ
- สาเหตุที่ต้องเพิ่มจำนวนกรรมการ เนื่องจากปัจจุบันบริษัทฯมีจำนวนกรรมการไม่มาก ทำให้กรรมการต้องเป็นกรรมการในชุดย่อยซ้ำกันเกือบทุกชุด ส่วนประเด็นเสียงโหวตจากกรรมการที่เป็นเลขคู่ ไม่น่ามีปัญหา เพราะปกติประธานกรรมการจะงดออกเสียง ถ้าจำเป็นจะเป็นคนออกเสียงเพื่อชี้ขาดมตินั้นๆ และการเพิ่มจำนวนกรรมการไม่ต้องแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิเพราะรวมอยู่ในวัตถุประสงค์แล้ว
- คุณ ชัชวาลย์ ได้แจ้งว่า เรียนจบการศึกษาทางด้านบริหารการเงิน และวิชารองคือด้านคอมพิวเตอร์ จะขอศึกษาลักษณะธุรกิจของบริษัทฯสักระยะหนึ่ง คิดว่าจากประสบการณ์การทำงานมาหลายปี และ หลากหลายบริษัท จะสามารถช่วยงานบริษัทฯได้
- เงินค่าสอบบัญชีพิเศษนี้เป็นค่าสอบบัญชีพิเศษเพื่อแสดงกับกรมสรรพากร สำหรับสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จากสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) บริษัทอื่นอาจไม่มีรายการพิเศษนี้ หรือมี แต่ไม่นำมาขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น เพราะไม่ใช่การตรวจสอบงบการเงินตามปกติ
- ถึงแม้ว่าทาง บริษัท สำนักงานเอินส์แอนด์ยัง ตรวจสอบบัญชีของบริษัทย่อยในต่างประเทศแห่งเดียวคือ บริษัท Globe Vision แต่บริษัท สำนักงานเอินส์แอนด์ยัง ได้ส่งพนักงานไปตรวจสอบบริษัทย่อยที่ประเทศจีนในปี 2555 ด้วย
- บริษัทฯรับไว้พิจารณา
- บริษัทฯจำเป็นต้องเก็บเงินสดไว้ให้พร้อมเพื่อการลงทุนซื้อกิจการ หรือ การลงทุนทางด้านการผลิตวัตถุดิบบางอย่างเอง
- ประธานที่ประชุม ได้ชี้แจงว่า การปัดเศษขึ้นหรือลง จะทำให้ผู้ถือหุ้นบางท่านเสียประโยชน์ และ บางท่านได้ประโยชน์ ทำให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิไม่เท่ากัน ปัจจุบันการจ่ายเงินปันผลเป็น eDividend จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆไปได้มาก
- ปัจจุบันระหว่างโรงงาน 2 โรงงาน มีรั้วกั้น เพื่อความสะดวกในการรักษาความปลอดภัย การปรับปรุงโรงงาน โรงงาน SVI-1 ได้ปรับปรุงไปมากแล้ว แต่โรงงาน SVI-2 ยังไม่ได้ปรับปรุง ต้องรอดูสถานการณ์ทางธุรกิจให้มีเพิ่มขึ้นเพื่อจะได้ใช้พื้นที่ของโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ปัจจุบันบริษัทฯมีโรงงานแยกกันอยู่ 3 แห่ง คือที่ถนนแจ้งวัฒนะ บางกะดี และ ที่เทียนจิน ประเทศจีน ซึ่งเมื่อตอนเกิดอุทกภัยเมื่อปลายปี 2554 บริษัทฯได้เริ่มผลิตที่โรงงานถนนแจ้งวัฒนะ